วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ท ๒๑๑๐๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ มาตรฐาน ท ๑.๑

ตัวชี้วัดที่ ๑. อ่านออกเสียร้อยแก้วและร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
กิจกรรม จงศึกษาใบความรู้ที่กำหนดให้
การอ่าน การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้รับข้อมูลข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ของโลกในปัจจุบันและได้ความรู้
การอ่านออกเสียงร้อยกรอง
หลักการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
การอ่านออกเสียงเสนาะเป็นการอ่านอออกเสียงประเภทหนึ่ง ที่ใช้ระดับเสียงต่างๆ
ให้มีจังหวะและทำนองเพื่อให้เกิดความไพเราะ ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะคือการทำให้
เนื้อร้องและทำนองให้ความรู้สึกในรูปรสกลิ่นเสียงประหนึ่งสัมผัสได้ เกิดภาพ เกิดการสะเทือนใจ
องค์ประกอบที่ทำให้การอ่านทำนองเสนาะบรรลุถึงเป้าหมาย
1. อ่านออกเสียงให้ชัดเจนและถูกต้อง
2. อ่านมีจังหวะวรรคตอน รู้จักทอดจังหวะ เอื้อนเสียงหรือหลบเสียง
3. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์ของชนิดนั้น
4. เสียงดังชัดเจนนนุ่มนวลน่าฟัง
5. เน้นเสียงให้เป็นไปตามเนื่อเรื่อง เช่น โกรธ ยินดี เศร้าใจ
1.การอ่านกลอนสุภาพ
การอ่านกลอนสุภาพนั้นนิยม อ่านเสียงสูง 2 วรรคและเสียงตำ 2 วรรค ถ้ามีวรรคละ 7 คำ
อ่น2/2/3ถ้ามีวรรคละ 8 คำอ่าน3/2/3และถ้ามี 9 คำอ่าน3/3/3
ตัวอย่าง นิราศภูเขาทอง
มาถึงบางธรณีทวีโศก ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น ทั้งสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร
เมื่อเคาะร้ายกายเราก็เท่านี้ ไม่มีท่พสุธาจะอาศัย
2. การอ่านโคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมีสี่บาท บาทที่ หนึ่ง คำอ่าน3/2 2/(2)
บาทที่ สอง คำอ่าน3/2 2
บาทที่ สาม คำอ่าน3/2 2/(2)
บาทที่ สี่ คำอ่าน 3/2 2/2
ตัวอย่าง โคลงสี่สุภาพ
ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ
หย่อมญ่าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน
3. การอ่านกาพย์ฉบัง 16 มีจังหวะ 2/2/2 2/2
2/2/2
ตัวอย่าง กาพฉบัง

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
เป็นทักษะทางภาษาที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นการถ่ายทอด
ความรู้ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ของผู้เขียนโดยผ่านผู้อ่านไปยังผู้ฟัง การอ่านออกเสียงร้อย
แก้วได้ดีจะต้องออกเสียงคำในภาษาไทยถูกต้องชัดเจน รู้หลักการอ่านและมีทักษะในการอ่าน
จึงจะสามารถอ่านได้อย่างไพเราะ ถูกต้อง คล่องแคล่ว ก่อให้เกิดภาพพจน์ ได้รส ได้อารมณ์

การอ่านออกเสียง
มีความมุ่งหมายประการสำคัญเพื่ออ่านออกเสียง คือเน้นการเปล่งเสียงว่าดังขนาดไหน
ถูกต้องหรือชัดเจนทำให้ผู้ฟังเข้าใจหรือไม่ อ่านได้ถูกจังหวะ วรรคตอน คล่องแคล่ว และเกิด
อารมณ์เพลิดเพลินเพียงใด ส่วนการที่ผู้อ่านจะจับใจความหรือเข้าใจเรื่องถือว่าเป็นความปะสงค์
อันดับรอง
หลักการอ่านร้อยแก้ว
1. ออกเสียงอ่านอย่างเสียงพูดธรรมดา
2. อ่านด้วยจังหวะธรรมดาไม่เร็วหรือช้าเกินไป
3. อ่านถูกต้องตามวรรคตอน
4. ออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจนพอสมควร
5. ออกเสียงหนักเบาให้เหมาะแก่เรื่อง